หมวดหมู่: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ

31021 WISDOM


เดอะวิสดอมกสิกรไทยเจาะลึกสัญญาณเศรษฐกิจทั่วโลก เปิดโผโอกาสลงทุนไทย - ต่างประเทศ

          บทสรุปสำคัญจากงานสัมมนาแห่งปี “THE WISDOM Wealth Forum: Thailand 2024 Investment Opportunity Redefined” ที่จัดสำหรับลูกค้าเดอะวิสดอมกสิกรไทย เจาะลึกเมื่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 จะไปในทิศทางไหน ความเสี่ยงและโอกาสของประเทศไทยพร้อมทิศทางการลงทุน จากการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย และ เจพี มอร์แกน แอสเสท แมเนจเม้นท์ พันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก 

 

31021 KBank รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์

 

          นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สิ่งที่ไม่เคยหยุดนิ่งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง ทำให้ชีวิตของผู้คนง่ายขึ้น ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีมากมายมาช่วยอำนวยความสะดวก แต่การลงทุนในยุคนี้กลับคาดการณ์ได้ยากมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีความเสี่ยงก็เท่ากับไม่มีโอกาส สิ่งสำคัญของการลงทุนคือ การตัดสินใจที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม ถูกที่ ถูกเวลา จึงจะสามารถเอาชนะตลาดได้ 

 

          จับตา 3 ปัจจัยส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย

 

31021 WISDOM02

 

          ดร. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึง เศรษฐกิจไทยยังไปต่อได้ แม้ไม่ได้เร่งเท่าเดิม ภาคธุรกิจต้องปรับตัวไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ของโลกให้ได้ ผลิตในสิ่งที่โลกต้องการ ปรับโครงสร้างธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 

          1) ความเสี่ยงด้านศักยภาพการแข่งขันในภาคการผลิต เช่น ภาคการเกษตรที่ส่วนแบ่งการตลาดหายไปถึง 20% สิ่งทอเครื่องนุ่งห่มที่ถูกตีตลาดจากจีนด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ในเวลาเดียวกัน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาคการผลิตในอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

          2) ภาคการท่องเที่ยว เศรษฐกิจไทยพึ่งพากับการท่องเที่ยวเป็นหลัก ถึงแม้ว่าในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 28.2 ล้านคน (เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มี 11.5 ล้านคน) แต่พบว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวต่อคนในปี 2566 ลดลงจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 44,000 บาทต่อคน เหลือเพียง 36,000 บาทต่อคน ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง

          3) การใช้จ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุน และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ที่ล่าช้าถึง 6 เดือน งบลงทุนที่หายไปส่งผลให้จีดีพีลดลงประมาณ 0.8% 

 

          เศรษฐกิจสหรัฐฯ แกร่งยืนหนึ่ง จีนชะลอตัวจากหลายปัจจัยกดดัน 

 

31021 KAsset วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์

 

          นายวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ให้มุมมองว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะภาคการบริโภค ในขณะที่อัตราการว่างงานเหลือเพียง 3.9% ซึ่งต่ำกว่าช่วงก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 โดยสหรัฐฯ ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจในประเทศต้องหยุดชะงักเพราะความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จาก “Offshoring” ที่หมายถึงการย้ายการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนการผลิตต่ำ มาสู่ยุทธศาสตร์ “Reshoring” หมายถึงการนำเอากระบวนการผลิตส่วนที่สำคัญกลับคืนมาประเทศตัวเอง พร้อมกันนี้ยังได้กำลังสนับสนุนจากเม็กซิโกซึ่งมีแรงงานทักษะข้ามมาทำงานในสหรัฐฯ โดยในปี 2563-2564 ได้มีการจ้างงานในประเทศกว่า 700,000 ตำแหน่ง และเพิ่มเป็น 1 ล้านตำแหน่งในปี 2566 ส่งผลให้ มีแรงงานรวมกว่า 160 ล้านคน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้อัตราการว่างงานลดลง 0.6 – 0.7% นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนจากบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ที่นำ AI มาใช้จริง มีผู้ใช้งานหลายล้านรายทั่วโลก

 

31021 JP Morgan Tai Hui

 

          Mr. Tai Hui, Managing Director, Chief Market Strategist, Asia Pacific, J.P. Morgan Asset Management กล่าวถึงเศรษฐกิจของจีนว่ายังมีความท้าทาย ไม่น่าเติบโตได้ร้อนแรงเท่าแต่ก่อน โดยมีภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยกดดันที่สำคัญ รวมถึงมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเกินความต้องการของตลาด (Oversupply) นอกจากนี้นโยบายที่ไม่ชัดเจนของภาครัฐยังส่งผลต่อความมั่นใจของนักธุรกิจและนักลงทุน แต่ยังมีปัจจัยบวกคือภาคการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งจากจำนวนประชากรมหาศาล และมีกลุ่มธุรกิจที่ยังเติบโตต่อได้ เช่น พลังงาน การเงินธนาคาร 

 

          ปีทองของหุ้นขนาดกลางและเล็ก ยกหุ้นสหรัฐเด่น อินเดีย-อินโดนีเซีย-ซาอุดิอาระเบีย น่าลงทุน

 

31021 KAsset สรพล วีระเมธีกุล

 

          นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงทรงตัว โดยคาดว่าจะมีโอกาสย่อตัวอีกในราวเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน จากปัจจัยเงินบาทอ่อนค่า เกิดเงินทุนไหลออก (Capital Outflow) แนะนำเลือกหุ้นที่อยู่ในวงจรที่สามารถเอาชนะตลาดได้ จุดสังเกตหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมักเป็นหุ้นในกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยว หรือภาคเกษตรกรรมที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจยุคเก่า (Old Economy) โดยปีนี้ถือเป็นปีทองของหุ้นในธุรกิจขนาดกลางและเล็ก เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 

          สำหรับการลงทุนในระยะกลาง-ยาว แนะนำให้จัดสัดส่วนการลงทุนคือ กระจายลงทุนตลาดหุ้นไทย 30% ตลาดหุ้นต่างประเทศ 30% โดยให้น้ำหนักที่สหรัฐ 40% และตลาดที่น่าจับตาคือ อินเดีย อินโดนีเซีย และซาอุดิอาระเบีย และที่เหลือกระจายลงทุนในกองทุน Fixed Income และเงินสด

 

31021 WISDOM04

 

          กองทุน “K-WealthPLUS Series” โซลูชันการลงทุนแบบ Multi-Asset เพื่อเอาชนะตลาดผันผวน

          นายวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ความท้าทายที่นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องเผชิญท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน คือการซื้อ-ขายผิดจังหวะ มีสัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ไม่เหมาะสมกับสภาวะตลาด รวมถึงปรับพอร์ตไม่ถูก บลจ. กสิกรไทย จึงร่วมมือกับ เจพี มอร์แกน แอสเสท แมเนจเม้นท์ (J.P. Morgan Asset Management:JPMAM) พัฒนากองทุน “K-WealthPLUS Series” โซลูชันด้านการลงทุนแบบ Multi-Asset ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ลดความเสี่ยงและลดโอกาสขาดทุนได้ดีกว่าการลงทุนแบบกระจุกตัว โดยแนะนำให้ถือเป็น Core Port ในสัดส่วน 80% ของพอร์ตทั้งหมด

 

31021 JP Morgan Jin Yuejue

 

          Ms. Jin Yuejue, Asia Head of the Investment Specialist, Multi-Asset Solution group, J.P. Morgan Asset Management กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างบลจ. กสิกรไทย และ JPMAM เป็นการผสานศักยภาพของบลจ. กสิกรไทย ที่มีความเข้าใจเชิงลึกต่อสินทรัพย์และสถานการณ์การลงทุนในไทย รวมกับ JPMAM ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารการลงทุนระดับโลก ทำให้ “K-WealthPLUS Series” เป็นโซลูชันการลงทุนที่ตอบโจทย์ในภาวะตลาดผันผวน คัดสรรและกระจายลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากทั้งในไทยและทั่วโลก โดยยังคงแนวคิดเรื่องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนผ่านกลยุทธ์ Multi-Asset

          กองทุน K-WealthPLUS Series สามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ มี 3 กองทุน ได้แก่

          1. K-WPBALANCED มีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 30% เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มลงทุน เน้นความมั่นคงของพอร์ต

          2. K-WPSPEEDUP มีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 65% เหมาะกับคนที่รับได้เสี่ยงได้ปานกลาง ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่อยากให้พอร์ตเหวี่ยงมากเกินไป

          3. K-WPULTIMATE มีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 85% เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนจากตลาดหุ้นทั่วโลก

 

*ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

 

 

31021

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!