หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 46


รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรับรองแล้วตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของรายงานฯ

          กค. เสนอว่า

          1. โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 75 วรรคสาม บัญญัติให้ กค. เสนอรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พร้อมด้วยรายงานผลการตรวจสอบของ สตง. ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาภายใน 210 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ภายในวันที่ 26 เมษายน 2567)

          2. กค. ได้จัดทำรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลจากการรับจ่ายเงินที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (NEW GFMIS Thai) และข้อมูลหนี้สาธารณะจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะข้อมูลเงินลงทุนของรัฐบาลจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและข้อมูลที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ ซึ่ง สตง. ได้ตรวจรับรองแล้ว และเห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวแสดงฐานะการเงินของรัฐบาลไทย ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 และผลการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับบัญชีการเงินแผ่นดิน และมาตรฐานการจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท)

รายการบัญชี

ปีงบประมาณ ..

เพิ่ม (ลด)

2566

2565

จำนวนเงิน

ร้อยละ

สินทรัพย์รวม

8,580,625.75

8,293,497.789

287,127.97

3.46

หนี้สินรวม

10,367,112.11

9,776,959.23

590,152.88

6.04

สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวม

(1,786,486.36)

(1,483,461.45)

(303,024.91)

(20.43)

รายได้รวม

2,788,950.08

2,654,628.83

134,321.25

5.06

ค่าใช้จ่ายรวม

3,328,789.20

3,563,391.79

(234,602.59)

(6.58)

รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิรวม

(539,839.12)

(908,762.96)

368,923.84

40.60

 

              2.1 รัฐบาลมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 287,127.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.46 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์จากการปรับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่เป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบบัญชีปี พ.ศ. 2566-2569 และการปรับปรุงราคาประเมินที่ดินให้มีความถูกต้องตรงตามมาตรฐานการประเมินราคาที่ดิน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น เงินให้กู้ยืมระยะยาว และรายได้รัฐค้างรับรัฐบาลมีหนี้สินรวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 590,152.88 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.04 เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการกู้เงินเพื่อการบริหารหนี้ และรัฐบาลมีสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวมลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 303,024.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.43 เนื่องจากการปรับปรุงบัญชีและการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดระยะยาวเพิ่มขึ้นตามมูลค่ายุติธรรม

              2.2 รัฐบาลมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 134,321.25 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.06 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีอากร การจัดเก็บรายได้เบ็ดเตล็ดอื่นเพิ่มขึ้น และการนำส่งเงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และรัฐบาลมีค่าใช้จ่ายรวมลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 234,602.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.58 เนื่องจากการลดลงของค่าใช้จ่ายอุดหนุนตามมาตรการของรัฐเพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม ดังนั้น รัฐบาลจึงขาดทุนลดลงจำนวน 368,923.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.60 (จากปี 65 จำนวน 908,762.96 ล้านบาท เป็น 539,839.12 ล้านบาท)

              2.3 ผลการวิเคราะห์

              รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีรายการเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.46 หนี้สินรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 6.04 สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 20.43 รายได้รวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5.06 ค่าใช้จ่ายรวมลดลง คิดเป็นร้อยละ 6.58 และรัฐบาลขาดทุนลดลงจำนวน 368,923.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.60 (จากปี 65 จำนวน 908,762.96 ล้านบาท เป็น 539,839.12 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี รายงานการเงินแผ่นดินจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลยังสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ (Going Concern) เนื่องจากมีแนวโน้มในการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่องด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้การเร่งส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การบริหารเงินคงคลังให้เพียงพอต่อการเบิกจ่ายของหน่วยงานของรัฐในแต่ละช่วงเวลา บริหารที่ราชพัสดุให้เกิดความคุ้มค่า เหมาะสมกับศักยภาพที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารเงินลงทุนโดยมีการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องโดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาการลงทุนให้ครอบคลุมจากทุกแหล่งเงิน รวมทั้งการบริหารหนี้สาธารณะให้ครอบคลุมต้นทุนและความเสี่ยง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ โดยหนี้สาธารณะในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในอัตราร้อยละ 62.44 จากกรอบชำระหนี้สาธารณะในอัตราร้อยละ 70 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมภายในประเทศ

              2.4 ประโยชน์และผลกระทบ

              การจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ เป็นรายงานแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินและฐานะการเงินของแผ่นดิน เพื่อเสนอข้อมูลด้านการเงินการคลังขอรัฐบาล โดยรัฐบาลสามารถกำกับดูแล การดำเนินงาน วางแผน และควบคุมการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้มีการจัดเก็บรายได้แผ่นดินและบริหารรายจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งประชาชนและภาคส่วน ต่างๆ ได้รับทราบผลการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งสะท้อนความโปร่งใสในการบริหารของรัฐบาล

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 23 เมษายน 2567

 

 

4710

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

CKPower 720x100

TOA 720x100

Banner GPF720x100 PX

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

MTL 720x100

AXA 720 x100

gen 720x100

hino2021

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!