หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 42


ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers Meeting: ATM) (การประชุม ATM) ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          คค. รายงานว่า

          1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (7 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบและอนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม ATM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ฉบับ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว ดังนี้

 

การประชุม ATM

 

ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม ATM

การประชุม ATM ครั้งที่ 29

จำนวน 8 ฉบับ

 

(1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM ครั้งที่ 29

(2) ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการบินที่ยั่งยืน

(3) ร่างแผนแม่บทว่าด้วยการจัดการจราจรทางอากาศ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3

(4) ร่างพิธีสาร 3 ความสามารถในการกำกับดูแลความปลอดภัยขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ

(5) ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้าในอาเซียน

(6) ร่างแนวทางท่าเรืออัจฉริยะ

(7) ร่างข้อเสนอแนะ เรื่อง การอำนวยความสะดวกการผลัดเปลี่ยนและส่งลูกเรือกลับภูมิลำเนา

(8) ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน

การประชุม ATM – จีน ครั้งที่ 22

จำนวน 1 ฉบับ

 

(9) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22

การประชุม ATM – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21

จำนวน 5 ฉบับ

 

(10) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21

(11) ร่างแผนปฏิบัติการหลวงพระบาง

(12) ร่างรายงานฉบับสมบูณ์เรื่อง กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำ ปี 2563-2564

(13) ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องโครงการฝึกอบรมระบบนำร่องเดินอากาศในอาเซียน

(14) ร่างแนวทางการประเมินด้านความสามารถ/ประสิทธิภาพของท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคอาเซียน

การประชุม ATM – เกาหลี ครั้งที่ 14

จำนวน 3 ฉบับ

 

(15) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 14 

(16) ร่างยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ

(17) ร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่ครอบคลุมเพื่อการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียน - เกาหลี

การประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียน สาขาการส่งขนส่ง-สาขาการท่องเที่ยว 

จำนวน 1 ฉบับ

 

(18) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง - สาขาการท่องเที่ยว

 

          2. ในการประชุม ATM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ประชุมได้รับทราบ พิจารณา และรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ1 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 

              2.1 การประชุม ATM ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่า การกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้ 

 

การประชุม ATM ครั้งที่ 29

ที่ประชุมพิจารณา

          (1) ความคืบหน้าการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการขนส่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน ปี 2559-2568 โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จสู่ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน การจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียน ตลาดการเดินทะเลร่วมอาเซียน การดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งฉบับต่างๆ และ การขนส่งที่ยั่งยืน

          (2) ผลการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่งกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน [นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลี) สหรัฐอเมริกา (อเมริกา)] โดยมีสาระสำคัญ เช่น มีการจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศกับนิวซีแลนด์ (จะกำหนดวันและสถานที่สำหรับการลงนามในโอกาสต่อไป) มีการจัดทำโครงการการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติมและ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการสนับสนุนกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน ซึ่งเป็นการส่งเสริมด้านการขนส่งของอาเซียนและส่งเสริมการบูรณาการด้านเศรษฐกิจของอาเซียน มีการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียนกับ 4 ประเทศคู่เจรจา (ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และอเมริกา) เป็นต้น

ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ 7 ฉบับ

          โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

เอกสารสำคัญ

 

สาระสำคัญ

(1) แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM ครั้งที่ 29

 

เป็นเอกสารที่แสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM ครั้งที่ 29 ผ่านการพิจารณาและรับรองเอกสารสำคัญ 6 ฉบับ โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อเสริมสร้างการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน เพื่อยกระดับโครงสร้างด้านยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางบก เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการจัดการประชุม ATM ครั้งที่ 30 ในปี 2567 สหพันธรัฐมาเลเซีย (มาเลเซีย)

(2) แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการบินที่ยั่งยืน

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุน การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนในภาคการบินระหว่างประเทศเป็นศูนย์ในปี 2593

(3) แผนแม่บทว่าด้วยการจัดการจราจรทางอากาศ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการจราจรทางอากาศแบบไร้รอยต่อและเพื่อส่งเสริมการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน2

(4) พิธีสาร 3 ความสามารถในการกำชับดูแลความปลอดภัยขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ

 

เป็นพิธีสารภายใต้ข้อตกลงร่วมสำหรับใบอนุญาตของ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบินที่ลงนามเมื่อปี 25603 (สำหรับการลงนามในพิธีสารดังกล่าว จะมีการกำหนดวันและสถานที่ลงนามในโอกาสต่อไป)

(5) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้าในอาเซียน

 

เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน ซึ่งรวมถึงโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าและแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

(6) ข้อเสนอแนะ เรื่อง การอำนวยความสะดวกการผลัดเปลี่ยนและส่งลูกเรือกลับภูมิลำเนา

 

เพื่อส่งเสริมการดำเนินการของท่าเรืออย่างต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวกในการผลัดเปลี่ยนคนประจำเรือและการส่งลูกเรือกลับสู่ภูมิลำเนา

(7) แนวทางท่าเรืออัจฉริยะ4

 

เป็นการกำหนดตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินศักยภาพของท่าเรืออัจฉริยะ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการกำหนด

 

              2.2 การประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่า การกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. สาว และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของจีน ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้

                    2.2.1 รับทราบเรื่องต่างๆ เช่น (1) การมีผลบังคับใช้ของพิธีสาร 3 ว่าด้วย การขยายสิทธิรับขนการจราจรทางอากาศเสรีภาพที่ 5 ระหว่างภาคีคู่สัญญาและ (2) ผลสำเร็จของการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำและการดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน – จีน ปี 2564-2568 (ฉบับปรับปรุง) เป็นต้น

                    2.2.2 รับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22 โดยภายในแถลงการณ์จะแสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 22 รวมทั้งแสดงความยินดีต่อการดำเนินการต่างๆ เช่น ยินดีต่อความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน - จีน ปี 2564 - 2568 (ฉบับปรับปรุง) ยินดีที่ได้รับทราบว่าจีนได้จัดการประชุมเรื่องการขนส่งที่ยั่งยืนของโลก เมื่อเดือนกันยายน 2566 ณ กรุงปักกิ่ง จีน เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การประชุม ATM - จีน ครั้งที่ 23 ในปี 2567 จะจัดขึ้น ณ มาเลเซีย

              2.3 การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของ สปป. ลาว และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้

 

การประชุม ATM – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21

ที่ประชุมรับทราบ

          ความคืบหน้าของการดำเนินโครงการตามแผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน - ญี่ปุ่น ปี 2565-2566 ภายใต้แผนปฏิบัติการปากเซ เช่น การสร้างขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ โครงการโลจิสติกส์ควบคุมอุณหภูมิระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เป็นต้น

ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ 5 ฉบับ

          โดยมีสาระสำคัญได้ ดังนี้

เอกสารสำคัญ

 

สาระสำคัญ

(1) แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21

 

เป็นเอกสารที่แสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21 ผ่านการรับทราบและรับรองเอกสารสำคัญ 4 ฉบับ รวมทั้งแสดงความยินดีต่อการดำเนินการต่างๆ เช่น ยินตีต่อคำประกาศของญี่ปุ่นในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน ปี 2559-2568 เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 ในปี 2567 จะจัดขึ้น มาเลเซีย

(2) แผนปฏิบัติการหลวงพระบาง

 

เป็นแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินความร่วมมือด้านการขนส่ง ระหว่างปี 2567-2576 โดยเป็นแผนที่ครอบคลุมประเด็นความยืดหยุ่นของห่วงโชอุปทาน5 การเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน การขนส่งที่ยั่งยืน การขนส่งที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้และการขนส่งที่ปลอดภัย

(3) รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำ ปี 2563 – 2564

 

เป็นรายงานผลการฝึกอบรมบุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน

(4) รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องโครงการฝึกอบรมระบบนำร่องเดินอากาศในอาเซียน

 

เป็นรายงานผลการฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับระบบนำร่องเดินอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียน

(5) แนวทางการประเมินด้านความสามารถ / ประสิทธิภาพของท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคอาเซียน

 

จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดตัวชี้วัดและประเมินความสามารถและประสิทธิภาพของท่าเรือตู้สินค้าในอาเซียน

 

              2.4 การประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่า การกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว และกรรมาธิการการขนส่ง กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งของเกาหลี ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้ 

 

การประชุม ATM – เกาหลี ครั้งที่ 14

ที่ประชุมพิจารณา

          (1) ผลการประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 กรุงโซล เกาหลี ภายใต้หัวข้อการขับควบคลื่นแห่งการขนส่งอัจฉริยะส่งเสริมการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ ผ่านการขนส่งที่สะอาด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการปรับโครงการความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน - เกาหลี ให้สอดคล้องกับข้อริเริ่มระดับภูมิภาคต่างๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียนปี 2559-2568

          (2) ความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการและกิจกรรมภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน - เกาหลี ปี 2567-2568 โดยเฉพาะโครงการเพื่อการพัฒนาบุคลากร การให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาและโครงการด้านเทคโนโลยีและการจัดการ ซึ่งสนับสนุนการขนส่งที่ยั่งยืนและครอบคลุมการขนส่งในเขตเมืองเทคโนโลยีด้านยานยนต์ที่ไร้มลพิษ/มลพิษต่ำ และการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในภาคการขนส่ง

ที่ประชุมรับรองเอกสารสำคัญ 3 ฉบับ

          โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

เอกสารสำคัญ

 

สาระสำคัญ

(1) แถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 14

 

เป็นเอกสารที่แสดงถึงผลลัพธ์การประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 14 ผ่านการพิจารณาและรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ รวมทั้งแสดงความยินดีต่อการดำเนินการต่างๆ เช่น ยินดีต่อความช่วยเหลือจากเกาหลีต่อความสำเร็จของการศึกษา เรื่อง การจัดทำยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 15 ในปี 2567 จะจัดขึ้น มาเลเซีย

(2) ยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ

 

เป็นการกำหนดกลยุทธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเปลี่ยนผ่านสู่การขนส่งในเมืองที่ยั่งยืน โดยนำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาปรับใช้ เพื่อส่งเสริมการขนส่งที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งของอาเซียน

(3) ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือที่ครอบคลุมเพื่อการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียน - เกาหลี

 

เป็นการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการขนส่งอัจฉริยะระหว่างอาเซียนและเกาหลี รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมการเดินทางและขนส่ง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

 

              2.5 การประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง - สาขาการท่องเที่ยว (ASEAN Interface Meeting on Transport and Tourism Ministers Meeting) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว ทำหน้าที่เป็นประธานร่วม โดยที่ประชุมมีผลลัพธ์การประชุมสรุปได้ ดังนี้

                    2.5.1 รับทราบเรื่องต่างๆ เช่น การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวควบคู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกจะสร้างความต้องการในการเดินทางมากขึ้น เป็นต้น

                    2.5.2 เห็นชอบเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การกระชับความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

                    2.5.3 จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาแนวทางการบูรณาการความร่วมมือทั้งสองสาขา และเพื่อพัฒนาการขนส่งและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

                    2.5.4 รับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง - สาขาการท่องเที่ยว โดยภายในแถลงการณ์ร่วมจะแสดงถึงผลลัพธ์การประชุมร่วมระดับรัฐนตรีอาเซียนสาขาการขนส่ง- สาขาการท่องเที่ยวและยืนยันความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการท่องเที่ยวและการขนส่ง ทั้งนี้ ที่ประชุม ATM ครั้งที่ 29 และที่ประชุมที่เกี่ยวข้องได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและถ้อยคำของร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 5 ฉบับ ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญตามร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมที่ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 (ตามข้อ 1) โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาและถ้อยคำ ดังนี้

 

การประชุม ATM

 

ร่างเอกสารผลลัพธ์

การประชุม

 

ข้อแก้ไข

การประชุม ATM

ครั้งที่ 29

 

ร่างแถลงการณ์ร่วม

การประชุม ATM ครั้งที่ 29

 

(1) เพิ่มการรับรองแผนปฏิบัติการด้านการบินที่ยั่งยืน6 ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของไทยในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี .. 2608

(2) ยกเลิกการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศยังดำเนินการตามกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ โดยแก้ไขถ้อยคำจากรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียนเป็นการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียนหาข้อยุติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน...”

การประชุม ATM - จีน

ครั้งที่ 22

 

ร่างแถลงการณ์ร่วม

การประชุม ATM - จีน

ครั้งที่ 22

 

(1) แก้ไขชื่อผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วม จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของจีน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของจีน

(2) เพิ่มเรื่องการรับทราบการจัดการประชุมการขนส่งที่ยั่งยืนโลกของจีนเมื่อเดือนกันยายน 2566 กรุงปักกิ่ง

(3) ปรับเปลี่ยนถ้อยคำให้มีความเหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น เปลี่ยนจาก “to further liberalise” เป็น “to discuss further liberalisation” เป็นต้น

การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21

 

ร่างแถลงการณ์ร่วม

การประชุม ATM - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 21

 

แก้ไขชื่อผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วม เนื่องจากญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น

การประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 14

 

ร่างแถลงการณ์ร่วม

การประชุม ATM - เกาหลี ครั้งที่ 14

 

แก้ไขชื่อผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วม จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งของเกาหลี เป็นกรรมาธิการการขนส่งกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งของเกาหลี

การประชุมร่วม

ระดับรัฐมนตรี

สาขาการขนส่งและสาขาการท่องเที่ยว

 

ร่างแถลงการณ์ร่วม

การประชุมร่วมระดับรัฐมนตรีสาขาการขนส่งและสาขาการท่องเที่ยว

 

ปรับปรุงถ้อยคำให้มีความเหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น เปลี่ยนจาก “need to work” เป็น “should continue to work” เป็นต้น

 

          3. ในช่วงระหว่างการประชุม ATM ครั้งที่ 29 ได้มีการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของ สปป.ลาว โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่

              3.1 การดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขง (หนองคาย - เวียงจันทน์) แห่งที่ 2 และการพัฒนาขีดความสามารถของสะพานมิตรภาพ (หนองคาย - เวียงจันทน์) เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

              3.2 ความเป็นไปได้ในการปรับปรุงความตกลงด้านการเดินรถไฟไทย - ลาว เพื่อให้สามารถเดินรถมาได้ถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

              3.3 การอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน/ผ่านแดนของรถขนส่งสินค้า โดยให้ไทยสามารถเข้าไปขนส่งสินค้าใน สปป. ลาว โดยไม่ต้องเปลี่ยนหัวลาก - หางลาก รวมทั้งการพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการของท่าเรือบกใน สปป. ลาว ที่ชัดเจน เพื่อประกอบการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการขนส่ง

              3.4 ข้อเสนอของ สปป. ลาว ในการปรับปรุงค่าธรรมเนียมผ่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเงินเฟ้อของ สปป. ลาว

              3.5 การขอรับการสนับสนุนจากไทยในการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งของ สปป. ลาว

_______________

1ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (เอกสารสำคัญในการประชุม ATM ครั้งที่ 29) ยังไม่มีการลงนาม เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศยังดำเนินการตามกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ

2เป็นการวางรากฐานระบบการจราจรทางอากาศของภูมิภาคให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน รามทั้งพัฒนาระบบบริหารการจราจรทางอากาศให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

3พิธีสารดังกล่าวเป็นเอกสารแนบท้ายข้อตกลงร่วมสำหรับใบอนุญาตของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้องค์การการบริหารการบินของประเทศสมาชิกอาเซียนออกใบอนุญาตนักบินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

4ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Port) คือ ท่าเรือที่นำเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ และระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานท่าเรือ

5เช่น การพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น 

6คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการบินที่ยั่งยืนแล้ว (7 พฤศจิกายน 2566) แต่ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม ATM ครั้งที่ 29 ที่ทาง สปป.ลาว จัดทำในคราวแรก ไม่ได้ระบุแผนปฏิบัติการดังกล่าวไว้ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 18 เมษายน 2567

 

 

4546

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

CKPower 720x100

TOA 720x100

Banner GPF720x100 PX

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

MTL 720x100

AXA 720 x100

gen 720x100

hino2021

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!