หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 12


การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร) ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ตรงตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยไม่กระทบต่อฐานะทางการเงินของ ธ.ก.ส. และมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน รวมถึงป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ ธ.ก.ส. โดยให้ถือใช้ข้อความตามที่ปรับปรุงแล้ว แทนข้อความเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กค. รายงานว่า

          1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 มกราคม 2550) ธ.ก.ส. ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและได้วางกรอบแนวปฏิบัติ เพื่อให้ส่วนงานในพื้นที่ดำเนินการ เรื่อง การงดการดำเนินคดีบังคับคดีและการขายทอดตลาด ดังนี้ 

              1.1 ให้อนุมัติดำเนินคดีลูกหนี้เกษตรกร เฉพาะกรณีที่หนี้ใกล้จะขาดอายุความฟ้องร้องดำเนินคดี (อนุมัติก่อนหนี้ขาดอายุความ 1 - 2 ปี)

              1.2 ให้ชะลอการบังคับคดีลูกหนี้เกษตรกร สำหรับคดีที่ศาลมีคำพิพากษา และคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจะบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้รายใดให้ดำเนินการได้เฉพาะหนี้ที่ใกล้ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแล้วเท่านั้น (ดำเนินการเมื่อระยะเวลาบังคับคดีคงเหลือไม่เกิน 2 ปี)

              1.3 ให้ชะลอการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร สำหรับคดีที่ได้บังคับคดี (ยึดทรัพย์สิน) ไว้แล้ว ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 289 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้ตามคำพิพากษา และบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

          2. การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 ในการชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี การบังคับคดี และการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลากว่า 17 ปี โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายได้ใช้ประโยชน์จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม และในทางตรงกันข้าม กลับก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอีกหลายประการ ดังนี้

 

ประเด็นปัญหา/ผลกระทบ

 

รายละเอียด

(1) ลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการชำระหนี้ตามสัญญาและแก้ไขปัญหาหนี้สิน

 

1) ลูกหนี้ไม่มีเหตุจูงใจที่จะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น โดยเห็นว่า ... ไม่อาจที่จะบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ รวมถึงยังเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถไปก่อหนี้กับเจ้าหนี้ ภายนอกเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้ชั้นดีรายอื่นๆ นำไปเป็นแบบอย่างจนทำให้กระทบต่อระบบการเงินการคลังของประเทศได้

2) ลูกหนี้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่ามติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวห้ามมิให้ ... ฟ้องร้องดำเนินคดีกับลูกหนี้เกษตรกร และเมื่อ ... มีความจำเป็นต้องฟ้องร้องดำเนินคดีลูกหนี้เกษตรกรโดยอาศัยเหตุแห่งอายุความ จึงทำให้ลูกหนี้บางส่วนเกิดความไม่พอใจและมีปัญหากระทบกระทั่ง กับ ... เรื่อยมา

(2) ในการฟ้องหรือบังคับคดี ลูกหนี้ หรือสมาชิก กฟก. จะมีหนังสือขอให้ ... ชะลอการฟ้อง หรือชะลอการบังคับคดีออกไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา โดยเฉพาะในคดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้ว

 

เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด ลูกหนี้หรือสมาชิก กฟก. จะมีหนังสือขอให้ ... งดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ทำให้ ... จำเป็นต้องของดการขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ออกไปอย่างไม่มีกำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประกอบกับคำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 40/2550 ลงวันที่ 25 มกราคม .. 2550 (เรื่อง การบังคับคดีเกษตรกร) กำหนดให้กรณีที่ ... ของดการบังคับคดี โดยมีหนังสือแสดงความยินยอมของเกษตรกรลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งอนุญาตตามระยะเวลาที่ขอ ส่งผลให้ไม่สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้และไม่สามารถยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ เนื่องจากยังไม่อาจขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้

(3) ภาระหนี้สินของลูกหนี้เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการชะลอการดำเนินคดีของลูกหนี้เกษตรกร

 

การชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีส่งผลให้ลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาระดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาและคำพิพากษา ซึ่งหาก ... ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีและชะลอการใช้สิทธิทางศาลออกไปนานเท่าใด ลูกหนี้ก็จะต้องรับภาระดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น และการที่ธนาคารปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นระยะเวลานาน ก่อนมาใช้สิทธิทางศาลเป็นการเอาเปรียบและสร้างภาระเกินสมควรสำหรับลูกหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ต้องรับภาระทั้งดอกเบี้ยปกติและดอกเบี้ยผิดนัดจนอาจกลายเป็นการแสวงหาประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้

(4) ... มีความเสี่ยง เนื่องจากไม่สามารถบังคับหลักประกันได้อย่างเต็มที่ หรือหลักประกันได้รับความเสียหาย รวมถึงกรณีที่ไม่อาจบังคับเอากับทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้และผู้ค้ำประกันได้

 

1) หลักประกันจำนองมักได้รับความเสียหายหรือเปลี่ยนสภาพ เช่น การถูกบุกรุก การเวนคืนถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน ซึ่งทำให้มูลค่าของหลักประกันลดลง

2) หลักประกันที่เป็นบุคคล เช่น การค้ำประกันลูกหนี้ร่วม โดยบุคคลดังกล่าวอาจเสียชีวิต ป่วย ทุพพลภาพ อพยพย้ายถิ่นออกนอกพื้นที่ หรืออาจก่อหนี้สินภายนอกจนเกินความสามารถที่จะชำระหนี้ได้

3) ทรัพย์สินของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ... มักถูกเจ้าหนี้ภายนอกบังคับชำระหนี้ไปก่อนที่ ... จะสามารถดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีได้

4) ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ ... ได้ยึดไว้แล้ว ต่อมาเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาบังคับคดี อาจมีการเสื่อมถอยด้อยค่า ทำให้ ... ไม่สามารถยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่มเติมได้อีก

(5) ผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของ ...

 

1) ลูกค้าเงินฝากขาดความเชื่อมั่นในระบบการบริหารจัดการสิทธิเรียกร้อง ของ ... และกังวลว่าเงินฝากที่นำไปปล่อยสินเชื่ออาจไม่ได้รับชำระหนี้คืน เนื่องจาก ... ไม่อาจบังคับเอากับหลักประกันและทรัพย์สินของลูกหนี้ได้

2) เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับ ... ในการติดตามดูแลรักษาทรัพย์สินที่จะต้องยึดทรัพย์บังคับคดี ทำให้พนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานด้านอื่นที่เป็นงานสร้างรายได้ให้แก่ ... ได้อย่างเต็มที่

3) ... ไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลได้อย่างเต็มที่ โดย ... มีจำนวนดอกเบี้ยค้างชำระเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกปี เนื่องจากไม่สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกรได้ จึงไม่มีโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้จากการบังคับคดี และการชะลอการใช้สิทธิทางศาลทำให้ธนาคารต้องมีการตั้งสำรองหนี้สูญและมีค่าเสียโอกาสทางธุรกิจเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

(6) การสร้างการรับรู้/การกล่าวอ้างมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในทางที่ผิด

 

เป็นช่องทางให้บุคคลภายนอกแสวงหาผลประโยชน์จากลูกหนี้เกษตรกรโดยมิชอบจากการกล่าวอ้างมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เช่น การเรียกร้องเงินจากเกษตรกรเพื่อเข้าโครงการปลดหนี้ โดยหลอกลวงว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาชำระหนี้แทนเกษตรกร หรือการเรียกรับเงินจากเกษตรกรเพื่อดำเนินการเจรจาต่อรองกับสถาบันการเงินต่างๆ เป็นต้น

 

          3. กค. จึงมีความจำเป็นต้องขอเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ ธ.ก.ส. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและยังคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวที่ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

เดิม 

มติคณะรัฐมนตรี (16 มกราคม 2550)

 

ขอทบทวนปรับปรุงในครั้งนี้

1. ให้ ... สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ ... รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีของเกษตรกร ดำเนินการ ดังนี้

       1.1 เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้อง ให้ชะลอการฟ้องร้องไว้ก่อน

      1.2 เรื่องที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีและคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ชะลอการบังคับคดีไว้ก่อน

      1.3 คดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้วและจะต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร ให้ชะลอการขายทอดตลาดไว้ก่อน

     อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงอายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีและการบังคับคดีประกอบด้วย

 

1. ให้ ... สหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภายใต้ ... รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีของเกษตรกร ดำเนินการ ดังนี้

      1.1 เรื่องที่ยังมิได้มีการฟ้องร้อง ให้ชะลอการฟ้องร้องไว้ก่อน เว้นแต่กรณีหนี้นั้นจะขาดอายุความฟ้องร้อง หรือไม่สามารถแก้ไขเพื่อมิให้หนี้ขาดอายุความโดยวิธีอื่นใดได้

      1.2 เรื่องที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีและคดีถึงที่สุดแล้วให้ชะลอการบังคับคดีไว้ก่อน เว้นแต่กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้และไม่สามารถเจรจาแก้ไขหนี้ร่วมกันกับสถาบันการเงินได้ ให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป

      1.3 คดีที่มีการบังคับคดีไว้แล้วและจะต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเกษตรกร ให้ชะลอการขายทอดตลาดไว้ก่อน เฉพาะกรณีที่ยังไม่พ้นระยะเวลาบังคับคดีเท่านั้น โดยเมื่อมีการชะลอการขายทอดตลาดแล้วจะต้องมีอายุบังคับคดีคงเหลือไม่น้อยกว่า 3 ปี

      ทั้งนี้ ให้ ... และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้น สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการปฏิบัติในการดำเนินการตามข้อ 1.1 – 1.3 ข้างต้นได้ โดยพิจารณาถึงสภาพปัญหาของลูกหนี้เกษตรกรแต่ละรายเป็นสำคัญ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 18 เมษายน 2567

 

 

4548

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!