หมวดหมู่: พาณิชย์

มังสวิรัติ


พาณิชย์ ชี้เป้าส่งออกอาหารมังสวิรัติขายเนเธอร์แลนด์ หลังความต้องการบริโภคพุ่ง

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยชาวเนเธอร์แลนด์นิยมบริโภคอาหารมังสวิรัติเพิ่มมากขึ้น เหตุใส่ใจสุขภาพ และต้องการปกป้องสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ แนะผู้ส่งออกไทยศึกษาความต้องการและนำมาปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของไทยมั่นใจขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นแน่

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดได้รับรายงานจาก น.ส.ชนรรค์ดา สรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ถึงแนวโน้มการบริโภคอาหารมังสวิรัติของชาวเนเธอร์แลนด์ที่ได้เป็นอาหารมื้อหลักมากขึ้น และโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเข้าสู่ตลาดเนเธอร์แลนด์

โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า หนึ่งในสี่ของอาหารมื้อหลักทั้งหมดที่ผู้บริโภคเนเธอร์แลนด์บริโภคในปีที่ผ่านมาเป็นอาหารมังสวิรัติ โดยร้อยละ 22 ของผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์ยังคงรับประทานเนื้อสัตว์ แต่เลือกที่จะปรับเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์หรือปลาอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 43 ของผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์เลือกรับประทานอาหารมังสวิรัติ 1 หรือ 2 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาจากเรื่องสุขภาพ และการป้องกันเรื่องสภาพภูมิอากาศจากการเลี้ยงสัตว์     

ทั้งนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติบ่อย เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 32 เป็นผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพระดับสูง และร้อยละ 19 เป็นผู้ที่มีการศึกษาสายอาชีพระดับกลางหรือการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และยังพบว่า ผู้ที่มีอายุระหว่าง 25–35 ปี มักจะรับประทานอาหารมื้อหลักเป็นอาหารมังสวิรัติ และผู้บริโภคผู้หญิงมักเลือกที่จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรือทานอาหารมังสวิรัติมากกว่าผู้ชาย

นายภูสิต กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคเนเธอร์แลนด์ ให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยหันไปบริโภคอาหารที่ทำจากพืชหรือผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อสัตว์มากขึ้น และลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง และมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะลดการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลงอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลทั้งเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

“หากผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย สามารถปรับตัวและพัฒนา รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ให้มีคุณภาพและรสชาติที่ดีขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคได้ คาดว่าผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ของไทย จะสามารถเจาะตลาดและขยายตลาดในเนเธอร์แลนด์และยุโรปได้มากขึ้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติและเนื้อสัมผัส เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภค”นายภูสิตกล่าว

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!