หมวดหมู่: CHINA

1aนักชีววิทยา


นักชีววิทยาชาวจีนอุทิศตนในการปลูกปะการังเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล

      สำนักข่าว CMG รายงานว่า หวง หุย นักชีววิทยาด้านปะการังชาวจีนได้อุทิศตนครึ่งชีวิตในการสร้างสิ่งที่ประทับอยู่ในความทรงจำของเธอขึ้นมาใหม่ นั่นคือ การได้เห็นท้องทะเลที่เต็มไปด้วยปะการังหลากสีสัน แต่งแต้มด้วยปลาและกุ้งที่มีสีสันและรูปร่างต่างๆ เมื่อครั้งที่เธอไปดำน้ำชมปะการังที่เมืองซานย่า ทางตอนใต้สุดของจีนเมื่อปี 2545 เป็นเวลากว่า 250 ล้านปีที่ปะการังเป็นภูมิทัศน์ใต้ท้องทะเลที่สวยงาม โดยครอบคลุมพื้นมหาสมุทรไม่ถึง 2 พันแห่ง แต่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาทะเลเกือบร้อยละ 30 แต่ปะการังได้ลดลงในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากโลกร้อน

        โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์เอลนีโญ่ในปี 2541 ทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวและตายทั่วโลก

       นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ หวง หุย เริ่มการวิจัยเกี่ยวกับปะการัง โดยหวงได้เริ่มงานของเธอในสถาบันสมุทรศาสตร์ทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์ของจีนในปี 2536 และในปี 2539 เธอได้ร่วมทีมของ จู เรนลิน ผู้บุกเบิกด้านปะการังของจีน เพื่อหาวิธีกระจายปะการังในจีน ในปี 2545 หวงได้ดำน้ำลงไปใกล้หมู่เกาะซีชา เธอต้องทิ้งประสบการณ์ที่เคยเห็นความสวยงามของน้ำทะเลที่ใสดุจคริสตัล และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปะการังหลากสีสันและหอย เพื่อช่วยฟื้นฟูปะการัง หวงจึงตัดสินใจที่จะปลูกปะการังใต้ท้องทะเล ในปี 2552 เธอได้จัดทีมงานขึ้นมาในมณฑลไห่หนาน ซึ่งดูแลเมืองซานย่า หวงและทีมงานของเธอได้ทำการเพาะพันธุ์ปะการังในสถานอนุบาลก่อนเป็นอันดับแรก

     แล้วจึงนำปะการังเหล่านี้ไปปลูกใต้ท้องทะเล โดยจะเลือกปะการังชนิดต่างๆ ตามสภาพของท้องทะเล การปลูกปะการังในท้องทะเลไม่ใช่งานง่าย สภาพอากาศเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่สำคัญในการปลูกปะการัง อาการเมาคลื่น และสภาพแวดล้อมใต้น้ำที่รุนแรงก็เป็นสิ่งที่ท้าทายด้วยเช่นกัน

.      หวงกล่าวว่า ใต้พื้นมหาสมุทรก็คล้ายกับอวกาศ ไร้แรงโน้มถ่วงและลอยมากขึ้น เราใช้เวลาตอกตะปู 2-3 ครั้งเมื่ออยู่บนบก แต่ต้องตอกตะปู 20-30 ครั้งเมื่ออยู่ใต้ทะเล ขณะเดียวกันการทำงานใต้น้ำต้องใช้ออกซิเจนมาก หวงต้องเปลี่ยนถังออกซิเจนทุกๆ 20 นาที ภายหลัง 20 ปีของการทำงานหนักในทะเล

      หวงและทีมงานของเธอก็ได้ภาพที่ชัดเจนในภารกิจดังกล่าว หวงกล่าวว่า การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ไม่ใช่แค่การปลูกพืชเท่านั้น เพราะนั่นเป็นไปไม่ได้ เราต้องการสร้างแหล่งกำเนิดที่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ การปลูกปะการังเป็นขั้นตอนแรก เพราะพวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตพื้นฐานที่สร้างแนวปะการัง คุณปลูกสิ่งมีชีวิตพื้นฐานแล้วยังต้องมีปลา กุ้ง หอย สาหร่าย เพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างระบบนิเวศน์ที่มั่นคงด้วย แม้จะเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่าง ความพยายามของหวงก็ได้ผลตอบแทน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

     เธอและทีมงานได้ปลูกปะการังครอบคลุมพื้นที่กว่า 2 แสนตารางเมตรใต้ท้องทะเลในทะเลจีนใต้ ทั้งนี้หวงในวัย 50 ปีเศษยังคงฟื้นฟูปะการังในพื้นที่ทดลอง ความฝันของเธอไม่เพียงปลูกปะการังจำนวนมากในท้องทะเลเมืองซานย่าเท่านั้น แต่ยังจะปลูกฝังความคิดในการปกป้องมหาสมุทรไว้ในใจของผู้คนให้มากขึ้น เพื่อให้มนุษยชาติได้อยู่ร่วมกับมหาสมุทรได้นานๆ อีกด้วย

.

แหล่งข้อมูล:

https://www.cctvplus.com/news/20220613/8277114.shtml...

#จีน #ปะการัง #ธรรมชาติ #ฟื้นฟู #นิเวศวิทยา #cctv #cgtn #cmg

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!