หมวดหมู่: ธปท.

BOAสมชาย เลศลาภวศน


ธปท.เผยปี 61 ระบบแบงก์มีกำไร 2.07 แสนลบ.โต 10.8% สินเชื่อโต 6%

       ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยปี 61 ระบบธนาคารพาณิชย์ มีกำไรสุทธิ 2.07 แสนล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 10.8 จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีภาระกันสำรองลดง โดยสินเชื่อรวมขยายตัว ร้อยละ 6 ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทรงตัวใกล้เคียงปีก่อนที่ ร้อยละ 2.93

   นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2561 ว่าสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน สอดคล้องกับทิศทางของเศรษฐกิจ ด้านคุณภาพสินเชื่อค่อนข้างทรงตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารคุณภาพพอร์ตสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายการกันสำารองที่ลดลง ทั้งนี้ระบบธนาคารพาณิชย์มีเสถียรภาพ โดยมีเงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไปได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 6.0 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง โดยการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นมาจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคในทุกพอร์ตซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีและสินเชื่อธุรกิจในหลายประเภทที่ส่วนใหญ่มาจากการใช้สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่และ SME ที่วงเงินค่อนข้างสูง แม้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่บางส่วนจะมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

  สินเชื่อธุรกิจ (ร้อยละ 65.9 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวร้อยละ 4.4 โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากสินเชื่อภาคบริการในธุรกิจที่พักแรม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ บางรายที่ซื้อกิจการเครือโรงแรมในต่างประเทศ ประกอบกับการขยายตัวของสินเชื่อในภาคพาณิชย์ และภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก สำหรับสินเชื่อธุรกิจ SME (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยยังขยายตัวดีในธุรกิจพลังงาน อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ส่วนใหญ่จาก SME ที่มีวงเงินสินเชื่อสูง

  สินเชื่ออุปโภคบริโภค (ร้อยละ 34.1 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนในทุกพอร์ตมาอยู่ที่ร้อยละ 9.4 โดยหลักจาก 1) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ก่อนมาตรการ Loan To Value (LTV) จะบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2562 2) สินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น หลังสิ้นสุดระยะเวลาถือครอง 5 ปี ของมาตรการรถยนต์คันแรก และ 3) สินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีบ้านเป็นหลักประกัน สินเชื่อทะเบียนรถ และสินเชื่อสวัสดิการ

      คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ณ สิ้นปี 2561 สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ร้อยละ 2.93 ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ร้อยละ 2.91 โดยมียอดคงค้าง NPL อยู่ที่ 443 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 14 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องมาตั้งแต่สิ้นปี2559 สะท้อนภาพรวมคุณภาพสินเชื่อที่เริ่มทรงตัว แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้และการตัดหนี้สูญ ส าหรับสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan: SM) ต่อสินเชื่อรวมปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.42 จากร้อยละ 2.55 ในปีก่อน โดยมียอดคงค้างทั้งสิ้น366 พันล้านบาท ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 668 พันล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 67 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 193.3

        ในปี 2561 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ207.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.8 จากปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยตามสินเชื่อที่ขยายตัวและการลดลงของค่าใช้จ่ายการกันสำรองแม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวลงเนื่องจากการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัลซึ่งมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมเร่งตัวขึ้น ประกอบกับรายได้ค่านายหน้าจากธุรกิจประกันและกองทุนรวมลดลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Asset : ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.11 จากร้อยละ 1.04 ในปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนรายได้

      ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวที่ร้อยละ 2.73

      ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,569 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 117 พันล้านบาท โดยเป็นผลจากการจัดสรรกำไรเข้าเป็นเงินกองทุนเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1: CET1ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 18.3 และ 15.8 ตามลำดับ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!