หมวดหมู่: CHINA

จีนให้ความสำคัญ


มาตรการ '4 ไม่' ไม่ละทิ้งหน้าที่.. ไม่ละทิ้งนโยบาย.. ไม่ยุบเลิกคณะทำงาน.. ไม่ปล่อยให้ชาวนาจนลงอีก

 

'แก้จนอย่างไรไม่ให้กลับไปจนอีก' โดย รศ.วิภา อุตมฉันท์

เมี่อจีนสร้างประเทศใหม่ๆ คนจีนยากจนมากๆ สิ่งเดียวที่รัฐบาลเป็นกำลังใจให้ประชานชนคือให้ลุกขึ้นต่อสู้กับชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงใช้วิธีกระตุ้นความเอาการเอางานของประชาชนด้วยการประกาศอย่างเปิดเผยว่า ให้ทุกคนทำเต็มที่แล้ว 'ใครรวยได้รวยไปก่อน' (สมัยนั้นคนรวยกว่าคนอื่นจะถูกกล่าวหาว่าเป็นนายทุน) ทุกคนจะต้องไม่งอมืองอเท้ามัวแต่คิดว่า ตนไม่มีเงื่อนไขดีเท่าคนอื่นแล้วยอมจำนนแก่ชีวิต

'อย่างต่ำที่สุด ต้องดิ้นรนทำให้ได้ถึงขั้นกินอิ่มนอนอุ่น ส่วนคนที่มีเงื่อนไขพร้อมกว่า ก็ต้องพยายามยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นไปอีก อย่ามัวหลบๆ ซ่อนๆ ไม่กล้าเปิดเผยให้เป็นตัวอย่างแก่คนอื่น   

            ความยากจนเป็นอุปสรรคขัดชวางการพัฒนาของจีนมาตลอด ผ่านไป 40 ปี ในปี 2020  สีจิ้นผิง ประกาศต่อชาวโลกว่า 'บัดนี้ ประเทศจีนได้หลุดพ้นจากความยากจนโดยพี้นฐานแล้ว'ประชาชนในชนบทกว่า 7.7 ร้อยล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจนตามมาตรฐานของธนาคารโลก จีนบรรลุความสำเร็จก่อนเป้าหมายที่สหประชาชาติตั้งไว้ถึง 10 ปี'นี่คือ ประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ราวปาฎิหาริย์ของมนุษชาติ'

แต่จีน ก็ยอมรับว่า แม้จะหลุดพ้นจากความยากจน แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของทั่วทั้งประเทศก็ยังไม่สมดุล เช่น ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนฯลฯ วิธีแก้ปัญหาของนานาประเทศ ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การลดภาษีให้แก่คนจน เพิ่มภาษีคนรวย 

แต่มาตรการของจีนตลอดหลายสิบปีมานี้ จีนใช้มาตรการทางการคลังมาแก้ปัญหา เป็นมาตรการแก้จนที่เป็นระบบมีแบบแผน โดยอาศัยการสร้างงานให้กับประชาชน ให้ประชาชนในท้องที่ต่างๆ ช่วยกันสร้างถนนหนทาง ประปา ไฟฟ้า การสื่อสาร การท่องเที่ยวฯลฯ ทำให้ท้องถิ่นเจริญ ส่วนประชานก็ได้เงินเป็นการตอบแทน เงินเหล่านี้จะไหลเวียนอยู่ภายในท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นเอง

เมื่อมีสิ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็นครบถ้วนแล้ว จีน ก็พร้อมที่จะเชิญต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนเป็นการต่อยอดความเจริญให้แก่ชนบท อีกด้านหนึ่ง ก็ใช้วิธีเคลื่อนย้ายคนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารให้เข้าไปอยู่ในชุมชนเมือง

การแก้ปัญหาความจน ด้วยวิธีนี้ที่สำคัญ ต้องมีผู้นำที่ทำงานอย่างจริงจัง แก้ปัญหาได้ตรงประเด็นและครบวงจร โปร่งใสมีประสิทธิภาพ เรียกว่า มาตรการ '4 ไม่' คือ ไม่ละทิ้งหน้าที่.. ไม่ละทิ้งนโยบาย.. ไม่ยุบเลิกคณะทำงาน.. ไม่ปล่อยให้ชาวนาจนลงอีก

ปัญหาที่เผชิญหน้ารัฐบาลอยู่ในขณะนี้ คือ ข้อสุดท้าย...'จะทำอย่างไร จึงจะรักษาสถานะที่มีอันจะกินของประชาชานให้สูงขึ้น ไม่ปล่อยให้มีใครกลับจนลงไปอีก'เพราะรัฐบาลถยึดหลักว่า การหลุดพ้นจากความยากจนไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้ทุกคนมีชีวิตที่เท่าเทียมกันและร่ำรวยไปด้วยกันอย่างทั่วหน้า

ในการประชุมงานเศรษฐกิจของศูนย์กลางพรรคฯที่เปิดประชุมเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้เน้นเรื่องการผลักดันให้ชนบทเจริญรุ่งเรืองอย่างรอบด้าน อย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพ เพื่อประกันไม่ให้ย้อนกลับไปสู่ความยากจนอีก 

ผู้แทนสภาผู้แทนประชาชนจากเมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี (กังไส) ได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการกลับไปยากจนอีกครั้งตามสภาพความเป็นจริง พบว่า มักเกิดกับครัวเรือนที่แก้จนไปแล้ว แต่ไม่เสถียร ด้านหนึ่งเป็นครัวเรือนที่อยู่ตามชายขอบ หรือเป็นครัวเรือนที่ประสบปัญหาอันเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวเช่นพ่อแม่มีปัญหาสุขภาพ โรคภัยรุมเร้าทำงานไม่ได้ หรือได้รับความลำบากจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทางการท้องถิ่นได้ติดตามตรวจสอบสภาพของครัวเรือนเหล่านี้โดยถือเป็นภารกิจประการแรกในการเสริมความมั่นคงให้กับการแก้จน  

ผู้เทนจากเมืองก้านโจว กล่าวว่า ทุกๆ เดือน ผู้ปฏิบัติงานของหมู่บ้านจะต้องคอยติดตามตรวจสอบชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านเพื่อค้นหาความเสี่ยงที่นำไปสู่ความจน หรืออาจนำกลับไปสู่ความจนอีก ผู้แทนต้องมีความเข้าใจสภาพของชาวบ้านเป็นอย่างดี บางรายอาจมีความจำเป็นต้องจับจ่ายใช้เงินก้อนใหญ่จะด้วยอุบัติเหตุ หรือความจำเป็นที่คาดไม่ถึง จะได้เข้าไปช่วยเหลืออย่างทันกาล เช่น มีครัวเรือนที่ใช้ทรัพย์สินจนหมดตัวในการรักษามะเร็งของภรรยา

ส่วนตัวเองก็เป็นโรคเบาหวานไม่สามารถทำงานหนักได้ และยังมีคนแก่และเด็กเล็กที่ต้องดูแล ในสภาพเช่นนี้ บรรดาผู้แทนฯ ได้ถกเถียงอภิปรายกัน เห็นว่า ครัวเรือนนี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะกลับไปสู่ความยากจน จึงรายงานไปยังชั้นบนเพื่อขออนุมัติเข้าไปช่วยเหลือ โดยถือเป็นครัวเรือนที่ประสบความยากลำบากอย่างกะทันหัน 

ปี 2023 ท้องถิ่นต่างๆ ได้สร้างกลไกช่วยเหลือป้องกันการกลับไปสู่ความยากจนอีกครั้งให้สมบูรณ์รอบด้านยิ่งขึ้น การติดตามตรวจสอบอย่างเอาใจใส่ ค้นพบปัญหาได้เร็ว เข้าช่วยเหลือได้เร็ว จะช่วยลดความเสี่ยง สามารถใช้มาตรการต่างๆ ไปช่วยเหลือได้อย่างทันการณ์ ในการนี้ทางท้องถิ่นยังสามารถใช้ประโยน์จากข้อมูลบิ๊กดาต้าจากหลายๆ กระทรวงมาประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อทำการตรวจสอบและเตือนภัย สามารถติดตามแยกแยะได้รายละเอียดที่ลงลึกและมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

อีกมาตรการหนึ่ง นอกจากการให้ความช่วยเหลือ ที่สำคัญคือการสร้างวิสาหกิจและอาชีพเสริมในชนบทสให้มากขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้จัดเงินทุนช่วยพัฒนาชนบทในสัดส่วนสูงเรื่อยๆ ปีนี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 60% เงินจำนวนนี้นำไปใช้กับมาตรการต่างๆ ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจนในชนบทได้ถึง 33.96 ล้านคน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

วิธีการแก้จนที่มีลักษณะพิเศษอีกอย่างอื่นคือ การแปรสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ใดมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสมก็ส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะปลูกไม้ดอก ไม้ผลต่างๆ ให้สวยงาม สามารถจำหน่ายได้ แล้วสร้างห้องพักหรือจัดรถทัวร์นำคณะนักท่องเที่ยวไปเที่ยวก็เป็นรายได้ที่น่าสนใจ

      ผู้สื่อข่าวได้รับทราบจากกระทรวงเกษตรและชนบท ว่าต่อไปจีนจะแบ่งแยกประเภทในการช่วยเหลือพัฒนาวิสาหกิจ โดยแยกประเภทเขตที่หลุดพ้นจากความยากจนแล้วเป็นหลากหลายประเภท แล้วให้การช่วยเหลือตรงไปตามจุดอ่อนของแต่ละพื้นที่ เช่น  สร้างงานสาธารณูปโภคให้เพียงพอ ช่วยเหลือด้านการจัดจำหน่าย ช่วยส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความช่วยเหลือฯลฯ คาดว่าจะสามารถช่วยให้การหลุดพ้นจากความยากจนมีเสถียรภาพได้ถึง 30 ล้านคนขึ้นไป

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!