หมวดหมู่: ธปท.

BOAวรไท


ธปท.ชี้ดบ.ไทยยังต่ำกว่าภูมิภาค ยันออกมาตรการคุมบาทแข็งค่าอย่างรอบคอบ

    ธปท. ยังมั่นใจศก.ไทยปี 62 โต 3.3% จับตาความเสี่ยงเทรดวอร์ - ศก.จีน ชี้ดบ.ไทยยังต่ำกว่าภูมิภาค รับกังวลเงินบาทแข็งค่าพร้อมออกมาตรการดูแลเพิ่มเติม หากบาทไม่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับศก. แต่ต้องพิจารณารอบคอบ เหตุสหรัฐฯ ยังจับตา ยันมาตรการลดออกบอนด์ไม่ใช่ยาแรง อยู่ระหว่างหารือคลังกำหนดเป้าเงินเฟ้อปี 63

      นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมนักวิเคราะห์​ (Analyst Meeting) ครั้งที่ 3/2562 ว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากการส่งออกสินค้าและบริการเป็นสำคัญ ส่งผลให้ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ลงเหลือ 3.3% จากเดิมคาด 3.8% ขณะที่ปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.7% จากเดิมคาด 3.9% อย่างไรก็ตาม จะติดตามความเสี่ยงด้านต่างประเทศจากมาตรการกีดกันทางการค้า แนวโน้มเศรษฐกิจจีนและประเทศอุตสาหกรรมหลัก และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งติดตามการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่และการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

      สำหรับ สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น ยอมรับว่า ธปท.กังวลจากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น และที่ผ่านมาได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงได้ออกมาตรการดูแล โดยการปรับตารางการออก และลดวงเงินการออกพันธบัตรลงด้วย ทั้งนี้ ธปท.พร้อมออกมาตรการอื่นเพิ่มเติม หากพบว่า สถานการณ์เงินบาทเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 “ที่ผ่านมา แรงกดดันจากค่าเงินบาทมีปัจจัยจากหลายทาง และยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้มีเงินเข้ามาพักในประเทศ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำที่ 1.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ 0.88% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ดังนั้นจึงมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงอาจไม่ได้ส่งผลมากนัก และการดำเนินนโนยบายการเงินนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยในแต่ละประเทศเป็นหลัก และยืนยันว่า พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายหากสถานการณ์เปลี่ยน”นายวิรไท กล่าว

     นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ยังมาจากสภาวะเศรษฐกิจการเงินโลกในช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนโลกผันผวน ขณะที่ปัจจัยในประเทศ โดยไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงกว่ารายจ่าย นอกจากนี้ยังมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและตลาดบอนด์ด้วย ทำให้ธปท.ต้องออกมาตรการออกมาดูแลแต่ทั้งนี้ มาตรการไม่ได้หวังผลทันทีเร่งด่วน แต่เป็นการลดแรงกระแทก สร้างกันชนเวลาที่มีเงินไหลเข้ามาแรง และยังให้เวลาปรับตัวด้วย จึงไม่ได้เป็นยาแรงและเห็นผลทันที แต่ต้องการความต่อเนื่องในระยะยาว

      นายวิรไท กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่ออกมานั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณชัดเจน และภายหลังออกมาตรการพบว่า ตลาดปรับตัวในทิศทางที่ดี บาทอ่อนค่าลง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนว่า นักลงทุนต่างชาติต้องระวังหากคิดจะพักเงินในช่วงสั้นของไทย

      “ทุกมาตรการเราต้องชั่งน้ำหนัก และทุกมาตรการมีผลข้างเคียงและมีต้นทุน และถูกวัตถุประสงค์ ส่วนมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน (URR) ยืนยันว่า จะไม่มีการออกมาตรการการควบคุมที่เหวี่ยงแห แต่จะเป็นมาตรการที่เฉพาะเจาะจง และต้องวิเคราะห์ในเชิงลึก รวมถึงต้องมีความรอบคอบเนื่องจากสหรัฐฯ ยังจับตาว่าไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงแทรกแซงค่าเงิน สำหรับผู้ประกอบการในช่วงที่ค่าเงินผันผวนและมีความไม่แน่นอน ผู้ประกอบการจะต้องทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย”นายวิรไท กล่าว

      นายวิรไท กล่าวว่า นอกจากการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงที่เงินบาทผันผวนแล้วนั้น ที่ผ่านมาได้หารือกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ สามารถนำอัตราแลกเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนของการโค้ดราคาสินค้า เช่นเดียวกับการทำประกันการส่งออกด้วย เนื่องจากปัจจุบัน พบ    ส่วนกรณีที่คณะกรรมการ กนง. แสดงความกังวล และระบุว่า จะปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตามพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไป จากเทคโนโลยีที่มีบทบาทขึ้นนั้น ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าว จะต้องหารือร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป ถึงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2563 และการหารือเรื่องเป้าหมายเงินเฟ้อนั้น เป็นสิ่งที่ธปท.ดำเนินการร่วมกับ รมว.คลังเป็นประจำทุกปี

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!