หมวดหมู่: คลัง

วงเงนงบประมาณ


วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

     เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

สมมติฐานทางเศรษฐกิจ

อัตราการขยายตัวของ GDP ณ ราคาประจำปี ร้อยละ 4.8

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ร้อยละ 3.0 - 4.0

อัตราเงินเฟ้อ (GDP Deflator) ร้อยละ 0.8 – 1.8

วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,200,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 200,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้

รายจ่ายประจำ 2,393,120.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 120,463.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.7 ของวงเงินงบประมาณ

รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 62,709.5 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของวงเงินงบประมาณ

รายจ่ายลงทุน จำนวน 655,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 5,861.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของวงเงินงบประมาณ

รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 89,170.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 10,964.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของวงเงินงบประมาณ

2) รายได้สุทธิ จำนวน 2,731,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามเอกสารงบประมาณ จำนวน 181,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1

3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 469,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 19,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,200,000 ล้านบาท ดังกล่าวเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2563 - 2565) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีจำนวนและสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

2. การมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน (สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้              

2.1 การบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลืออยู่ของปี 2562 ควรให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของการลงทุนภาครัฐ การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณในส่วนที่ยังไม่มีการก่อหนี้ผูกพัน การปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของแผนงาน / โครงการ ที่ไม่สามารถก่อหนี้ได้ทันภายในปีงบประมาณ เพื่อนำไปดำเนินแผนงาน / โครงการ ที่มีความพร้อม การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการนำเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงการดำเนินมาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายและการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว

สำหรับ การบริหารเศรษฐกิจในระยะต่อไป ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำเป้าหมาย และแนวทางการลดระดับหนี้สาธารณะในอนาคต การส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ การปรับโครงสร้างภาษี และการนำมาตรการทางการเงินสมัยใหม่และแหล่งเงินอื่นมาใช้เพื่อลดภาระงบประมาณ อาทิ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เงินสะสม ทรัพย์อิงสิทธิ เป็นต้น

2.2 หน่วยงานของรัฐควรให้ความสำคัญกับการลดรายจ่ายประจำอย่างจริงจัง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ควรมีการปฏิรูปเพื่อลดรายจ่ายบุคลากรภาครัฐ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การปรับโครงสร้างกำลังคนภาครัฐและระบบการบรรจุทดแทนผู้เกษียณอายุในระยะยาว เป็นต้น รวมถึงการนำโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลมาสนับสนุนภารกิจการให้บริการประชาชนและนิติบุคคลให้มากขึ้น และการลดกฎเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มขั้นตอนและภาระงบประมาณรายจ่ายประจำของภาครัฐอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนด้านการลงทุนของภาคเอกชนอีกทางหนึ่งด้วย  

2.3 การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ควรให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ความเหมาะสมกับฐานะการเงินการคลังของประเทศ และไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว    

ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (www.bb.go.th)  

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!